สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส
ชื่อเต็ม | Juventus Football Club | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | La Vecchia Signora (หญิงชรา) La Fidanzata d'Italia (แฟนสาวแห่งอิตาลี) Bianconeri (ขาว-ดำ) Juve Le Zebre (ม้าลาย) | |||
ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897 | |||
สนาม | สนามกีฬายูเวนตุส | |||
ความจุ | 42,000 | |||
ประธาน | อันเดรอา อันเจลนี | |||
ผู้จัดการ | ตีอาโก มอตตา | |||
ลีก | เซเรียอา | |||
2023–24 | อันดับที่ 3 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส (อิตาลี: Juventus Football Club) หรือที่เรียกอย่างย่อว่า "ยูเว (Juve)" เป็นทีมฟุตบอลอาชีพของประเทศอิตาลี ปัจจุบันเล่นอยู่ในเซเรียอาลีกสูงสุดของฟุตบอลอิตาลี สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1897 โดยกลุ่มนักเรียนในเมืองตูริน และสโมสรใช้ชุดแข่งสีขาวและสีดำเป็นหลักมาตั้งแต่ ค.ศ. 1903 ยูเวนตุสเคยใช้สนามเหย้ามาหลายแห่งตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร สนามปัจจุบันคือสนามกีฬายูเวนตุส มีความจุ 41,507 ที่นั่ง
สโมสรมีชื่อเรียกในภาษาอิตาลีว่า "la Vecchia Signora" หมายถึง "หญิงชรา" ถือเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอิตาลี โดยชนะเลิศลีกลีกสูงสุด 36 สมัย, โกปปาอีตาเลีย 15 สมัย, ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา 9 สมัยซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในทุกรายการ และสำหรับการแข่งขันระดับทวีป ยูเวนตุสชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ 2 สมัย, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 สมัย, ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย, ยูฟ่าคัพ 3 สมัย (สถิติของสโมสรอิตาลี), ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2 สมัย และเป็นหนึ่งในสามสโมสรอิตาลีที่ชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ[1] ยูเวนตุสจึงถือเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตามการจัดอันดับของสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี รวมทั้งอยู่ในอันดับ 6 ในทวีปยุโรป และอันดับ 12 ของโลกในแง่การชนะเลิศถ้วยรางวัลระดับทวีป และอันดับ 4 จากการจัดอันดับโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ยูเวนตุสเป็นสโมสรฟุตบอลยุโรปที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุดในช่วง 7 ฤดูกาลแรกนับตั้งแต่เริ่มนำระบบดังกล่าวมาคำนวณใน ค.ศ. 1979
เริ่มก่อตั้งในชื่อ สปอร์ต คลับ ยูเวนตุส พวกเขาเป็นสโมสรอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของอิตาลี โดยเป็นรองเพียงสโมสรเจนัว (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1893) ยูเวนตุสลงแข่งขันในอิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนส์ชิพ (ปัจจุบันคือเซเรียอา) ทุกฤดูกาลนับตั้งแต่ก่อตั้งฟุตบอลลีกใน ค.ศ. 1900 ยกเว้นในฤดูกาล 2006–07 ซึ่งสโมสรต้องตกชั้น นับตั้งแต่ ค.ศ. 1923 ยูเวนตุสอยู่ภายใต้การบริหารโดยตระกูลอันเญลลี หนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก สโมสรยังมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์อิตาลี ส่งผลให้พวกเขากลายเป็นสโมสรกีฬาอาชีพสโมสรแรก ๆ ของอิตาลี โดยสถาปนาตนเองขึ้นมาเป็นสโมสรชั้นนำของประเทศตั้งแต่ทศวรรษ 1930 และกลายเป็นหนึ่งในทีมชั้นนำของฟุตบอลยุโรปตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ก่อนจะกลายเป็นหนึ่งในสิบสโมสรที่มีมูลค่าทีมและผลกำไรสูงสุดของโลกตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 สโมสรได้จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 2001[2]
สโมสรชนะเลิศถ้วยรางวัล 13 รายการภายใต้การคุมทีมของ โจวันนี ตราปัตโตนี ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 จนถึงกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งรวมถึงการชนะเลิศเซเรียอาหกสมัย และรายการระดับทวีปอีกห้ารายการ และกลายเป็นสโมสรแรกของทวีปที่ชนะการแข่งขันสามรายการหลักของยูฟ่าครบทั้งสามรายการ ได้แก่: ยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 1976–77 (เป็นสโมสรแรกจากยุโรปใต้ที่ชนะเลิศ), ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ฤดูกาล 1983–84 และยูโรเปียนคัพ (ปัจจุบันคือยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก) ฤดูกาล 1984–85 และยังชนะเลิศยูโรเปียนคัพซูเปอร์คัพใน ค.ศ. 1984 และ อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ค.ศ. 1985 ส่งผลให้ยูเวนตุสเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศถ้วยรางวัลห้ารายการดังกล่าว[3] ต่อมาใน ค.ศ. 1999 ภายใต้การคุมทีมโดยมาร์เชลโล ลิปปี ยูเวนตุสชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ส่งผลให้พวกเขาเป็นสโมสรเดียวในอิตาลีที่ชนะเลิศการแข่งขันทุกรายการที่จัดแข่งขันโดยคณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศในนามทีมชุดใหญ่ ยูเวนตุสได้รับการจัดอันดับโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 ในอันดับ 7 ของสโมสรฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษ และการจัดอันดับโดยสหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ ค.ศ. 2009 ให้เป็นสโมสรฟุตบอลที่ดีที่สุดอันดับสองในยุโรป ซึ่งถือเป็นอันดับที่ดีที่สุดของสโมสรอิตาลีในการจัดอันดับทั้งสองประเภท
ยูเวนตุสเป็นสโมสรที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในประเทศ และหนึ่งในสโมสรที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในโลก[4] และสิ่งที่แตกต่างจากสโมสรกีฬาอื่น ๆ ในยุโรปคือ กลุ่มผู้สนับสนุนของยูเวนตุสกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ มิได้กระจุกตัวอยู่เพียงแต่ในเมืองที่ตั้งเท่านั้น ส่งผลให้สโมสรเป็นสัญลักษณ์ตรงข้ามของ กัมปานีลิสโม (campanilismo)[5] ซึ่งหมายถึง ลัทธิจังหวัดนิยม และยังมีการเปรียบเปรยว่ายูเวนตุสเป็นสโมสรที่สะท้อนความเป็นอิตาลี (Italianness) มากที่สุด ผู้เล่นยูเวนตุสแปดคนได้รับรางวัลบาลงดอร์ โดยเป็นการชนะรางวัลสี่ครั้งติดต่อกันตั้งแต่ ค.ศ. 1982–85 โดยปาโอโล รอสซี และมีแชล ปลาตีนี นอกจากนี้ โอมาร์ ซิโบริ ยังถือเป็นผู้เล่นสัญชาติอิตาลี และผู้เล่นจากเซเรียอาคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ใน ค.ศ. 1961 สองนักเตะตำนานอย่างโรแบร์โต บัจโจ และ ซีเนดีน ซีดาน ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี ยูเวนตุสเป็นสโมสรที่มีผู้เล่นทีมชาติอิตาลีมากกว่าสโมสรอื่น นักเตะหลายรายเป็นกำลังหลักในการคว้าแชมป์รายการสำคัญของทีมชาติ อาทิ ฟุตบอลโลก 1934, ฟุตบอลโลก 1982 และ ฟุตบอลโลก 2006 รวมทั้งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
ประวัติ
[แก้]ช่วงก่อตั้ง (ค.ศ. 1897–1918)
[แก้]ยูเวนตุสก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1897 ในชื่อ สปอร์ต คลับ ยูเวนตุส โดยกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียน มัสซิโม เด อาเซกีโล ในเมืองตูริน หนึ่งในนั้นได้แก่ ยูเจนีโอ กันฟารี และ เอนริโก กันฟารี[6] ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ในเวลาอีกสองปีถัดมา[7] สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขัน อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนส์ชิพ (ปัจจุบันคือเซเรียอา) ครั้งแรกใน ค.ศ. 1900 การแข่งขันนัดแรกของสโมสรเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม และจบลงด้วยความปราชัยต่อสโมสรโตริเนเซด้วยผลประตู 0–1[8] ต่อมาใน ค.ศ. 1904 มาร์โก อัจโมเน มาร์ซัน นักธุรกิจได้เข้ามาฟื้นฟูฐานะทางการเงินของสโมสร ส่งผลให้ยูเวนตุสย้ายสนามฝึกซ้อมจาก ปิอัสซา ดี อาร์มี ไปยังสนามเวโลโดรโมอัมเบรโต I ในช่วงเวลสนั้น ยูเวนตุสใช้สีชมพูและสีดำเป็นสีหลักของชุดแข่ง พวกเขาชนะการแข่งขันอิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนส์ชิพเป็นครั้งแรกใน ค.ศ 1905 และเปลี่ยนสีประจำทีมเป็นสีขาวและสีดำลายทาง และกางเกงสีดำ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากสโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษอย่าง สโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตี[9]
ใน ค.ศ. 1906 สโมสรได้มีการแยกทางกับพนักงาน และนักเตะบางส่วนออกไปเนื่องจากต้องการออกไปจากเมืองตูริน[7] ประธานสโมสรชาวสวิสในขณะนั้นอย่าง อัลเฟรท ดิก จึงไม่พอใจและตัดสินใจแยกตัวออกไปพร้อมนักเตะแกนหลักบางราย เพื่อไปก่อตั้งสโมสรฟุตบอลโตรีโนซึ่งได้กลายมาเป็นคู่แข่งของยูเวนตุสในเวลาต่อมา และเป็นที่มาของแดร์บีเดลลาโมเล[10] ยูเวนตุสต้องใช้เวลาในการสร้างทีมขึ้นมาใหม่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[11]
เจ้าแห่งวงการลูกหนังอิตาลี (ค.ศ. 1923–1980)
[แก้]หลังจากนั้นเจ้าขององค์กรธุรกิจรถยนต์ (เฟียต)ในเมืองตูรินอย่าง เอโดอาร์โด อเกลลี ได้เข้ามาควบคุมกิจการของสโมสรในช่วง ค.ศ. 1923 และได้มีการสร้างสนามเหย้าใหม่ขึ้น (เนื่องจากสนามเดิมได้มีการพังทลายจากเหตุสงครามโลก)[7] พวกเขาได้ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งใน ค.ศ. 1926 ด้วยการชนะ อัลบา โรมา ไปถึง 12–1 ด้วยการทำประตูของ อันโตนีโอ โวจาค ซึ่งเป็นนักเตะยอดเยี่ยมของฤดูกาล 1925–26[9] หลังจากนั้นสโมสรได้เป็นกำลังสำคัญในวงการฟุตบอลอิตาลีตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมาและได้กลายเป็นสโมสรมืออาชีพครั้งแรกของประเทศและเป็นสโมสรแรกที่มีแฟนคลับกระจายอยู่หลายประเทศ[12][13] ในขณะนั้นสโมสรอยู่ภายใต้การคุมทีมของ การ์โล การ์ซาโน อดีตผู้จัดการทีมชาตอิตาลี ซึ่งเขาสามารถนำยูเวนตุสได้แชมป์ลีกในระดับประเทศได้ถึง 4 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1934 และในช่วงนั้นมีนักเตะระดับสตาร์ชื่อดังมากมายของสโมสรอาทิเช่น ไรมุนโด ออร์ซิ, ลูอิกี เบอร์โทลินี, จิโอวานนี เฟอร์รารี, ลุยส์ มอนตี และอื่น ๆ อีกมากมาย
สโมสรได้ย้ายไปใช้สนามเหย้าใหม่คือ สตาดีโอโอลิมปิกโกดิโทริโน เป็นสนามเหย้าในช่วง ค.ศ. 1933.แต่หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 เป็นต้นมา สโมสรไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใหญ่มาได้เลย หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง กีอันนี อักเนลลี ได้เขามารับตำแหน่งประธานสโมสร[7]ต่อมา สโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมาได้อีก 2 สมัยในช่วงฤดูกาล 1949–50 และ 1951–52 โดยในช่วงนั้นสโมสรได้อยู่ภายใต้การคุมทีมของ เจสเซ คาร์เวอร์ ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ ในฤดูกาล 1957–58 สโมสรได้เซ็นสัญญากับสองกองหน้าชื่อดังอย่าง โอมาร์ ซีโบรี นักเตะลูกครึ่งอิตาลี-อาร์เจนตินา และ จอห์น คาร์เลส นักเตะชาวเวลส์ โดยพวกเขาได้เล่นรวมกับ กีอัมปีเอโร โบนีเปอร์ตี นักเตะชื่อดังของสโมสรในเวลานั้น โดยทั้งสามคนเป็นกำลังสำคัญของยูเวนตุสมาโดยตลอด ต่อมา นักเตะใหม่อย่างซีโบรีก็เป็นนักเตะคนแรกของสโมสรที่ได้รับรางวัล นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป ใน ค.ศ. 1961 ในปีเดียวกันนั้นพวกเขาชนะฟีออเรนตีนา คว้าแชมป์เซเรียอามาครองได้เป็นสมัยที่ 11 และคว้าแชมป์โกปปาอีตาเลียได้ในฤดูกาลเดียวกัน ประวัติศาสตร์คว้าแชมป์สองรายการหลักพร้อมกันเป็นครั้งแรกของสโมสร และโบนีเปอร์ตี ผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสร ณ เวลานั้น ตัดสินใจเกษียณตนเองจากการเป็นนักฟุตบอล เขาจากไปพร้อมสร้างสถิติทำประตูสูงสุดทั้งหมด 182 ประตู[14]
ทศวรรษต่อมา สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้เพียงครั้งเดียวในฤดูกาล 1966–67[9] ต่อมา ในทศวรรษ 1970 ยูเวนตุสกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้ง พวกเขาได้เพิ่มความแข็งแกร็งในแต่ละตำแหน่งให้มากขึ้น รวมถึงการเซ็นสัญญากับ เซสเมียรฺ์ เวียฟซาปาเลก ผู้จัดการทีมชาวเช็ก ซึ่งนำยูเวนตุสคว้าแชมป์เซเรียอาได้อีกในฤดูกาล 1971–72 และ 1972–73[9] โดยมีนักเตะชื่อดัง อาทิ โรแบร์โต เบตเตกา, ฟรานโก กาอูซีโอ และ โชเซ อัลตาฟีนี ในช่วงที่เหลือของทศวรรษที่ 70 สโมสรได้แชมป์ลีกเพิ่มอีกถึว 5 สมัย โดยมีกองหลังตัวหลักอย่าง เกเอตาโน ซีซ์เรีย ผู้จัดการทีม ณ ขณะนั้นคือ จีโอวานนี ตราปัตโตนี เป็นคนที่ช่วยนำสโมสรใหก้าวสู่ความยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่องจนถึงทศวรรษที่ 80[15] ยูเวนตุสยังชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลยุโรปเป็นครั้งแรกในยูฟ่าคัพฤดูกาล 1976–77 โดยเอาชนะอัตเลติกเดบิลบาโอด้วยกฎการยิงประตูทีมเยือน หลังจากเสมอกันสองนัดด้วยผลประตู 2–2
ความยิ่งใหญ่ในเวทียุโรป (ค.ศ. 1980–1993)
[แก้]ในยุคของตราปาตโตนีเป็นยุคที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งอยู่ในช่วงยุค ค.ศ. 1980 สโมสรเริ่มต้นได้ดีในช่วงทศวรรษใหม่ด้วยการคว้าแชมป์ลีก 3 สมัย โดยใน ค.ศ. 1984[9] สโมสรสามารถคว้าแชมป์ลีกสมัยที่ 20 และได้รับอนุญาตจากสมาพันธ์ฟุตบอลอิตาลีให้เพิ่มสัญลักษณ์ดาวสีทองดวงที่สองบนเสื้อแข่ง[15] ต่อมา เปาโล รอสซี ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป จากการการนำอิตาลีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1982 ซึ่งเขาทำผลงานโดดเด่นจนได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน[16]
นักเตะชาวฝรั่งเศสของสโมสรอีกคนอย่าง มีแชล ปลาตีนี ก็ถูกเสนอชื่อเป็นนักเตะยอดเยี่ยมอีกคน ซึ่งเขาคว้ารางวัลได้ถึง 3 สมัยติดต่อกันในปี 1983, 1984 และ 1985[17] โดยยูเวนตุสเป็นสโมสรเดียวที่มีนักเตะจากสโมสรคว้ารางวัลดังกล่าว 4 ปีติดต่อกัน[17] การแข่งขันนัดสำคัญของปลาตีนีคือรอบชิงชนะเลิศ ยูโรเปียนส์คัพ ฤดูกาล 1985 ซึ่งเขาช่วยให้สโมสรเอาชนะลิเวอร์พูล 1–0 ทำให้ยูเวนตุสคว้าแชมป์สมัยแรก อย่างไรก็ตาม การแข่งขันดังกล่าวถือเป็นโศกนาฏกรรมสำคัญมาถึงทุกวันนี้[18] จากเหตุการณ์ภัยพิบัติเฮย์เซล โดยแฟนบอลทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันส่งผลให้อัฒจันทร์พังลงมาและมีผู้เสียชีวิต 39 คน ในปีนี้เป็นปีที่ยูเวนตุสกลายเป็นสโมสรแรกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลยุโรปที่ได้รับรางวัลทั้งสามที่สำคัญการแข่งขันของยูฟ่า[19][20] และหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ค.ศ. 1985 ส่งผลให้ยูเวนตุสเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศถ้วยรางวัลสำคัญทั้งห้ารายการที่จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป[3][21] ต่อมา สโมสรยังชนะการแข่งขันที่จัดโดยยูฟ่าเป็นรายการที่หก หลังจากคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ
สโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาเพิ่มได้ในฤดูกาล 1985–86 ซึ่งเป็นแชมป์สมัยที่ 22 และเป็นแชมป์สุดท้ายในการคุมทีมของตราปาตโตนี โดยในช่วงที่เหลือของทศวรรษ 1980 ยูเวนตุสไม่ประสบความเร็จเท่าไรนัก เนื่องจากถูกท้าชิงโดยคู่อริอย่างนาโปลีนำโดยดิเอโก มาราโดนา รวมทั้งสองสโมสรใหญ่จากเมืองมิลานทั้ง เอซี มิลาน และอินเตอร์ แต่ยูเวนตุสยังคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยได้สองรายการด้วยแชมป์โกปปาอิาตาเลียฤดูกาล 1989–90 ต่อด้วยแชมป์ยูฟ่าคัพ 1990 ซึ่งเอาชนะฟีออเรนตีนาด้วยผลประตู 3–1 โดยผู้จัดการในขณะนั้นคือดีโน ซอฟฟ์ หนึ่งในตำนานของยูเวนตุสและทีมชาติอิตาลี[22] ใน ค.ศ. 1990 ยูเวนตุสได้ย้ายสนามเหย้าแห่งใหม่ไปที่สตาดีโอเดลเลอัลปีซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 1990[23] แม้สโมสรจะเซ็นสัญญากับนักเตะชื่อดังอย่าง โรแบร์โต บัจโจ ซึ่งเป็นค่าตัวสถิติโลกในขณะนั้น แต่ยูเวนตุสภายใต้การคุมทีมของลุยจิ ไมเฟรดี ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยคว้าแชมป์ได้เพียงรายการเดียวจากการเอาชนะโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ด้วยผลประตูรวมสองนัด 6–1 ในรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพ 1993 ซึ่งบัจโจทำไปถึง 4 ประตูจากการลงเล่นทั้งสองนัด
ลิปปีผู้นำความสำเร็จ
[แก้]มาร์เชลโล ลิปปีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้กับสโมสรในฤดูกาล 1994–95[7] และฤดูกาลแรกก็นำทีมคว้าแชมป์เซเรียอาได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980[9] โดยมีผู้เล่นชื่อดัง อาทิ ซีโร เฟอร์รารา, บัจโจ, จีอันลูกา วีอัลลี และนักเตะเยาวชนชื่อดังอย่าง อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร และยังเอาชนะปาร์มาในรอบชิงชนะเลิศโกปปาอิตาเลีย 1995 ตามด้วยแชมป์ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา และยังนำยูเวนตุสไปถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกพบเอเอฟซีอาแจ็กซ์ ผลออกมาเสมอกันด้วยผลประตู 1–1 โดยยูเวนตุสได้จาก ฟาบรีซีโอ ราเวเนลลี ก่อนที่จะชนะด้วยการดวลลูกโทษ 4–2 คว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 2[24]
หลังจากคว้าแชมป์ สโมสรได้เสริมทัพด้วยการซื้อผู้เล่นชื่อดังหลายคน อาทิ ฟีลิปโป อินซากี, ซีเนดีน ซีดาน, เอ็ดการ์ ดาวิดส์ ทำให้สโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล 1996–97 และ 1997–98 รวมทั้งแชมป์ระดับทวีปอีกสองรายการ ได้แก่ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรป และ ยูฟ่าซูเปอร์คัพใน ค.ศ. 1996 ต่อมาใน ค.ศ. 1997 และ ค.ศ. 1998 สโมสรเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้อีกสองครั้ง แต่ก็ได้แค่รองแชมป์ทั้งสองครั้งด้วยการแพ้โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ และ เรอัลมาดริด ตามลำดับ[25][26] ลิปปีก็กลับมาคุมทีมอีกครั้งใน ค.ศ. 2001 และซื้อผู้เล่นใหม่มากมาย อาทิ จันลุยจี บุฟฟอน, ดาวิด เทรเซกูเอต, ปาเวล เนดเวด และ ลีเลียน ทูร์ราม ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาในฤดูกาล 2001–02 และ 2002–03[9] ใน ค.ศ. 2003 ยูเวนตุสเข้าไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศโดยพบกับคู่แข่งร่วมลีกอย่าง เอซี มิลาน ผลออกมาเสมอกันในเวลาปกติ 0–0 และยูเวนตุสแพ้การดวลจุดโทษ ทำให้ลิปปีได้ลาออกเพื่อไปคุมทีมชาติอิตาลี ผลงานโดยรวมคือพายูเวนตุสคว้าแชมป์รวม 13 รายการ และเป็นหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร[15]
เหตุการณ์อื้อฉาว กัลโชโปลี (2004–2007)
[แก้]ฟาบีโอ กาเปลโล เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมใน ค.ศ. 2004 และพาทีมคว้าแชมป์ลีกได้อีกสองสมัย ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ยูเวนตุสกลายเป็นหนึ่งในห้าสโมสรที่เชื่อมโยงกับเรื่องอื้อฉาวในการล้มบอล ผลจากการลงโทษทำให้ยูเวนตุสได้ถูกลดชั้นลงไปเล่นเซเรียบีเป็นครั้งแรกเป็นประวัติศาสตร์ของสโมสร สโมสรปลดกาเปลโลที่นำทีมได้แชมป์ลีกใน ค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2006 (โดนริบแชมป์)[27] โดยแชมป์ดังกล่าวได้มอบให้แก่ทีมอันดับสามอย่างอินเตอร์แทน เหตุการณ์ดังกล่าวยังคงเป็นที่วิจารณ์กันถึงปัจจุบัน รวมถึงกรณีที่อินเตอร์ไม่ได้รับการตรวจสอบกรณีดังกล่าวในการแข่งขันในปี 2004 ผู้เล่นคนสำคัญหลายคนออกจากสโมสร อาทิ ซลาตัน อีบราฮีมอวิช, ฟาบีโอ กันนาวาโร, ปาทริก วีเยรา และ จันลูกา ซัมบรอตตา[28] แต่ผู้เล่นคนอื่นคนอื่นก็ยังตัดสินใจอยู่ร่วมช่วยสโมสรเพื่อให้กับไปเล่นในเซเรียอาต่อเช่น อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร, เนดเวด ขณะที่ผู้เล่นเยาวชนจากพรีมาเวรา เช่น เซบัสเตียน โจวินโก และ เคลาดีโอ มาร์คีซีโอ ก็ได้เลื่อนขั้นมาช่วยช่วยทีมชุดใหญ่ สโมสรเลื่อนชั้นขึ้นมาสู่เซเรียอาได้สำเร็จ โดยเป็นสโมสรแรกที่ตกชั้นจากเซเรียเอไปสู่เซเรียบีแล้วใช้เวลาแค่ฤดูกาลเดียวสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ กัปตันทีมอย่าง เดล ปีเอโร เป็นดาวซัลโวสูงสุดของเซเรียบีในฤดูกาล 2006–07 จำนวน 21 ประตู
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 ศาลฎีกาได้เผยแพร่เอกสารความยาว 150 หน้าที่อธิบายคำตัดสินขั้นสุดท้ายของคดีดังกล่าว โดยอิงตามคำตัดสินด้านกีฬาอันเป็นที่ถกเถียงใน ค.ศ. 2006 ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยกรณีดังกล่าวกับสโมสรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเนื่องจากหมดอายุความ และจำเป็นต้องขอและเพิกถอนคำพิพากษาตามมาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายความยุติธรรมกีฬา อย่างไรก็ตาม ศาลยืนยันว่าผู้บริหารของยูเวนตุสในขณะนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการฉ้อโกงเพื่อล็อคผลการแข่งขันให้กับยูเวนตุส จากรายงานของหนังสือพิมพ์ ลา กัสเซตา เดลโล สปอร์ต ผู้บริหารอย่าง ลูชาโน มอจจี และ อันโตนีโอ จิเราโด ถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน "สบคบกับผู้อื่นกระทำอาชญากรรม" มีบทลงโทษจำคุก 2 ปี แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความจึงไม่ต้องรับโทษ ยูเวนตุสหมดสิทธิ์ในการยื่นฟ้องร้องสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลีซึ่งแม้ภายหลังจะมีการตรวจสอบพบหลักฐานที่อินเตอร์มีส่วนพัวพันกับคดีนี้ เพราะมีการตรวจพบหลักฐานว่า อินเตอร์มิลานมีการติดต่อขอกำหนดตัวผู้ตัดสินในนัดที่ทีมลงแข่ง อีกทั้งประธานสโมสรอย่างมัสซิโม โมรัตติ ผู้เป็นเจ้าของทีมยังมีหุ้นส่วนใหญ่ใน บริษัทสื่อสาร TIM แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความ ทำให้อินเตอร์ไม่ได้ถูกสอบสวนหรือริบแชมป์ย้อนหลังแต่อย่างใด
กลับสู่เซเรียอา (ค.ศ. 2007–2011)
[แก้]ตั้งแต่กลับสู่เซเรียอาในฤดูกาล 2007–08 ด้วยการนำทีมของอดีตผู้จัดการทีมเชลซีอย่าง เคลาดีโอ รานีเอรี ซึ่งมาคุมทีมสองฤดูกาล[29] สโมสจบอันดับสามหลังจากเลื่อนชั้นขึ้นมาในฤดูกาลแรก และในรอบคัดเลือกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008–09 สโมสรเอาชนะทีมจากสโลวาเกียได้ถึง 5–1 ต่อมา ในรอบแบ่งกลุ่มพวกเขาเอาชนะเรอัลมาดริดได้ในบ้าน และเป็นแชมป์กลุ่ม ก่อนจะแพ้เชลซีไปด้วยผลประตู 2–3 ก่อนจบฤดูกาลสองนัดสุดท้าย รานีเอรีโดนไล่ออกหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ และสโมสรได้แต่งตั้ง ซิโร เฟอร์รารา เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวสองนัดสุดท้ายของฤดูกาล[30] และแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในฤดูกาล 2009–10.[31]
อย่างไรก็ตาม เฟอร์ราราก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยนำยูเวนตุสตกรอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม และโกปปาอีตาเลียก็แพ้ให้กับอินเตอร์มิลานในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และสโมสรจบเพียงอันดับ 6 ในลีก ต่อมา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 สโมสรได้ปลดเฟอร์รารา และแต่งตั้งอัลแบร์โต ซัคเคโรนี เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราว แต่สโมสรก็จบอันดับ 7 ในฤดูกาล 2010–11 อันเดรอา อักเนลลี ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแทน จีน-คลูเด บลันซ์ โดยอักเนลลีได้แต่งตั้งให้อเลสซีโอ เซกโก กับอดีตผู้จัดการทีมของอูนีโอเนกัลโชซัมป์โดเรียอย่าง ลูอีกี เดลเนรี เป็นผู้อำนวยการกีฬาของสโมสรแทนซาดเชโรนี และแต่งตั้งให้ กีอูเซปเป มารอตตา เป็นผู้จัดการทีมของสโมสร แต่การคุมทีมของเดลเนรีก็ล้มเหลวเนื่องจากทำผลงานไม่ได้ดีอย่างที่คิดทางสโมสรจึงแต่งตั้งอดีตผู้เล่นของสโมสรอย่าง อันโตนีโอ กอนเต ซึ่งทำผลงานได้ดีในการเป็นผู้จัดการทีมด้วยการนำทีมเซียนาเลื่อนชั้นจากเซเรียบีขึ้นมาสู่เซเรียอาได้สำเร็จ ยูเวนตุสได้ย้ายสนามเหย้าไปสู่สนามแห่งใหม่อีกครั้งซึ่งก็คือสนามกีฬายูเวนตุส ใน ค.ศ. 2011 ซึ่งในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาอลิอันซ์
ชนะเลิศสคูเด็ตโต 9 สมัยติดต่อกัน (ค.ศ. 2011–2020)
[แก้]กอนเตพาทีมชนะเลิศเซเรียอาโดยไม่แพ้ทีมใดตลอดทั้งฤดูกาล 2011–12 โดยในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง สโมสรผลัดกันขึ้นเป็นทีมนำในตารางกับคู่แข่งอย่างเอซี มิลาน ยูเวนตุสคว้าแชมป์เซเรียเอาในนัดที่ 37 จากการชนะคัลยารี 2–0 และมิลานแพ้อินเตอร์ด้วยผลประตู 2–4 และในนัดสุดท้ายของฤดูกาล ยูเวนตุสเอาชนะอาตาลันตา3–1 ส่งผลให้พวกเขาเป็นสโมสรแรกที่ชนะเลิศฟุตบอลลีกในประเทศโดยไม่แพ้ใครตลอด 38 นัด ต่อมาใน เซเรียอา ฤดูกาล 2013–14 ยูเวนตุสคว้าแชมป์เซเรียอาสมัยที่สามติดต่อกัน โดยทำสถิติ 102 คะแนน และชนะได้ถึง 33 จาก 38 นัด[32] และเป็นการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดเป็นสมัยที่ 30 ในฤดูกาลนี้สโมสรยังเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ยูฟ่ายูโรปาลีก แต่ตกรอบด้วยการแพ้สปอร์ลิชบัวอีไบฟีกาในนัดที่สองแม้คู่แข่งจะเหลือผู้เล่นสิบคน ทำให้ยูเวนตุสพลาดการลงแข่งรอบชิงชนะเลิศที่สนามกีฬายูเวนตุส[33]
ในฤดูกาล 2014–15 สโมสรแต่งตั้งมัสซีมีเลียโน อัลเลกรี เข้ามาคุมทีมซึ่งพาสโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาสมัยที่ 31 และเป็นแชมป์ 4 สมัยติดต่อกัน และยังคว้าแชมป์โกปปาอิตาเลียสมัยที่ 10 โดยเอาชนะลัตซีโยด้วยผลประตู 2–1[34] ยูเวนตุสยังเอาชนะเรอัลมาดริดในรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ก่อนจะแพ้บาร์เซโลนาในรอบชิงชนะเลิศ 1–3 ต่อมา ยูเวนตุสชนะเลิศโกปปาอิตาเลีย 2016 ด้วยการเอาชนะมิลาน 1–0 ทำสถิติเป็นสโมสแรกของอิตาลีที่คว้าแชมป์สองรายการหลักในประเทศสองฤดูกาลติดต่อกัน (เซเรียอาและโกปาอิตาเลีย)[35] พวกเขาชนะเลิศโกปปาอิตาเลียอีกครั้งใน ค.ศ. 2017 เอาชนะลัตซีโยไปอีกครั้ง 2–0 ทำสถิติเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์รายการนี้สามสมัยติดต่อกัน[36] ต่อมา ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ยูเวนตุสสร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์เซเรียอา 6 สมัยติดต่อกัน นอกจากนี้ พวกเขายังเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งที่สองในรอบสามฤดูกาล แต่แพ้เรอัลมาดริด 1–4 ยูเวนตุสชนะเลิศโกปปาอิตาเลียสมัยที่ 4 ติดต่อกัน ด้วยการเอาชนะมิลาน 4–0 ในรอบชิงชนะเลิศ ค.ศ. 2018 รวมทั้งชนะเลิศเซเรียอา 7 สมัยติดต่อกัน และเอาชนะเอซีมิลานในซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา 2018 ทำสถิติคว้าแชมป์รายการนี้มากที่สุดที่ 8 สมัย ต่อมา ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 สโมสรชนะเลิศเซเรียอาสมัยที่ 8 ติดต่อกัน และเมารีซีโอ ซาร์รี เข้ามาคุมทีมต่อจากอัลเลกรีซึ่งพาทีมชนะเลิศเซเรียอา 9 สมัยติดต่อกัน
ค.ศ. 2020–ปัจจุบัน
[แก้]ซาร์รีถูกปลดจากตำแหน่งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 หนึ่งวันภายหลังจากยูเวนตุสตกรอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 โดยแพ้ออแล็งปิกลียอแน[37] อันเดรอา ปีร์โล เข้ามาคุมทีมต่อด้วยสัญญาสองปี[38] ซึ่งพาทีมชนะนาโปลีได้ในซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา ฤดูกาล 2020 ด้วยผลประตู 2–0 คว้าแชมป์สมัยที่ 9 แต่สโมสรเสียแชมป์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ฤดูกาลให้แก่อินเตอร์ โดยทำได้เพียงอันดับ 4[39] ยูเวนตุสเอาชนะอาตาลันตาในโกปปาอีตาเลีย 2021 นัดชิงชนะเลิศ ถือเป็นถ้วยรางวัลใบที่สองของปีร์โล[40] และเป็นแชมป์สมัยที่ 14 แต่เขาถูกปลดในเดือนพฤษภาคม[41] และอัลเลกรีกลับมาคุมทีมอีกครั้งด้วยสัญญา 4 ปี[42] แต่ก็ทำได้เพียงจบอันดับ 4 ในลีกอีกครั้ง[43] และยังแพ้อินเตอร์ในโกปปาอีตาเลีย 2022 นัดชิงชนะเลิศ โดยถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ฤดูกาล 2010–11 ที่สโมสรจบฤดูกาลด้วยการไม่ชนะถ้วยรางวัลรายการใด
เข้าสู่ฤดูกาล 2022–23 ยูเวนตุสมีผลงานย่ำแย่ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยชนะได้เพียงนัดเดียวและแพ้ไปถึงห้านัดในรอบแบ่งกลุ่ม ทำสถิติเก็บคะแนนและชัยชนะในรอบแบ่งกลุ่มรายการนี้ได้น้อยที่สุดนับตั้งแต่ร่วมแข่งขัน[44] แต่ยังจบด้วยอันสามของกลุ่มด้วยผลต่างประตูที่ดีกว่ามัคคาบีไฮฟา ได้ลงไปแข่งยูฟ่ายูโรปาลีกซึ่งพวกเขาเข้าถึงรอบรองชนะเลิศแต่แพ้เซบิยาในช่วงต่อเวลา 1–2 ณ สนามกีฬารามอน ซันเชซ ปิซฆวน[45] ต่อมา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 สโมสรมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อผู้บริหารหลักลาออก นำโดย อันเดรอา อักเนลลี ประธานสโมสร, ปาเวล เนดเวต รองประธาน และ เมาริซิโอ อาร์ริวาเบเน ประธานกรรมการบริหาร[46][47] อันเดรอา อักเนลลี เป็นประธานสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีม ด้วยการชนะเลิศถ้วยรางวัล 19 รายการในช่วงที่บริหารทีม[48] จานลูกา เฟร์เรโร เข้ามารับตำแหน่งประธานคนใหม่ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2023[49]
ยูเวนตุสถูกศาลกีฬาสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี (เอฟไอซีจี) ลงโทษตัด 15 คะแนนหลังถูกตรวจพบมีการตกแต่งบัญชีเพื่อบิดเบือนข้อมูลทางการเงินซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการซื้อขายผู้เล่นเกินจริงในระหว่างปี 2018–2020 หรือช่วงสถานการณ์โควิด-19[50] นำไปสู่การประท้วงของกลุ่มผู้สนับสนุนสโมสร[51] สโมสรยื่นเรื่องอุทธรณ์ โดยได้รับการตัดสินใหม่ให้ตัดสิบคะแนนในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 และสโมสรยินยอมเสียค่าปรับเป็นเงิน 718,240 ยูโร โดยไม่มีการลงโทษใด ๆ เพิ่มเติม[52] ยูเวนตุสจบเพียงอันดับเจ็ดในเซเรียอา ฤดูกาล 2022–23 ทำให้ได้ไปเล่นเพียงรายการยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก อย่างไรก็ตาม สโมสรถูกลงโทษจากยูฟ่าในฐานละเมิดกฎการเงิน ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ และจะไม่ได้แข่งขันรายการยุโรปในฤดูกาลหน้า ถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ฤดูกาล 2011–12 ที่สโมสรจะไม่ได้ลงแข่งขันในรายการของยูฟ่า สโมสรคว้าแชมป์โกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2023–24 โดยเอาชนะอาตาลันตาในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 คว้าแชมป์สมัยที่ 15 แต่สโมสรได้แยกทางกับอัลเลกรีเนื่องจากความล้มเหลวในเซเรียอาฤดูกาล 2023–24 โดยยูเวนตุสจบในอันดับสาม[53] ตีอาโก มอตตา เข้ามาคุมทีมต่อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024 ด้วยสัญญาสามปี มอตตาพายูเวนตุสสร้างสถิติใหม่ด้วยการไม่เสียประตูในเซเรียอา 6 นัดติดต่อกัน (540 นาที) ก่อนจะยุติลงในนัดที่พวกเขาเปิดบ้านเสมอคัลยารีกัลโช 1–1 วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2024
แบรนด์เสื้อและผู้สนับสนุน
[แก้]ปีที่ใช้ | แบรนด์เสื้อ | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|
1979–1989 | Kappa | Ariston |
1989–1992 | Upim | |
1992–1995 | Danone | |
1995–1998 | Sony | |
1998–1999 | D+Libertà digitale / Tele+ | |
1999–2000 | CanalSatellite / D+Libertà digitale / Sony | |
2000–2001 | Lotto | Sportal.com / Tele+ |
2001–2002 | Fastweb / Tu Mobile | |
2002–2003 | Fastweb / Tamoil | |
2003–2004 | Nike | |
2004–2005 | Sky Sport / Tamoil | |
2005–2007 | Tamoil | |
2007–2010 | FIAT Group (New Holland) | |
2010–2012 | BetClic / Balocco | |
2012–2015 | FIAT S.p.A (จี๊ป) | |
2015- | Adidas | FIAT S.p.A (จี๊ป) |
สนามแข่ง
[แก้]นับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร ยูเวนตุสได้ใช้สนามเหย้ามาแล้วทั้งหมด 5 สนาม เรียงตามลำดับดังนี้
- เวโลโดรโมอัมเบรโต I (ค.ศ. 1904–1909)
- สตาดีโอดีคอร์ซีเซบาสโตโปลี (ค.ศ. 1909–1922)
- สตาดีโอดีคอร์โซมาร์ซีเกลีย (ค.ศ. 1923–1933)
- สตาดีโอโอลิมปีโกโตริโน (ค.ศ. 1933–1990; 2006–2011)
- สตาดีโอเดลเลอัลปี (ค.ศ. 1990–2006)
- ยูเวนตุสสเตเดียม (ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน)
สโมสรคู่อริ
[แก้]ยูเวนตุสมีสโมสรคู่ปรับสำคัญในอิตาลีสองทีมหลักได้แก่ โตริโน การพบกันของทีมสองทีมมีชื่อเรียกว่า แดร์บีเดลลาโมเล ซึ่งมีประวัติสืบไปถึง ค.ศ. 1906 โดยสโมสรโตริโนก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มนักเตะรวมถึงประธานสโมสรยูเวนตุสซึ่งแยกตัวออกไปจากสโมสร
อีกหนึ่งสโมสรที่มีความเป็นอริกับยูเวนตุสอย่างเข้มข้นคืออินเตอร์ สโมสรที่ตั้งอยู่ในเมืองมิลาน แคว้นลอมบาร์เดีย การแข่งขันมีชื่อเรียกว่า แดร์บีดีตาเลีย โดยทั้งสองทีมเป็นคู่แข่งแย่งความสำเร็จในประเทศมายาวนานหลายทศวรรษ และยังเป็นสโมสรที่มีผู้ติดตามมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสามในอิตาลี การเป็นอริของทั้งคู่พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 รวมถึงกรณีเหตุการณ์อื้อฉาวในกลางทศวรรษ 2000 ซึ่งยูเวนตุสถูกปรับให้ตกชั้น
การแข่งขันกับเอซีมิลาน ถือว่าได้รับการจับตามองจากแฟนฟุตบอลทั่วโลกเช่นกัน ทั้งสองทีมมักแย่งการเป็นแชมป์เซเรียอาตลอดหลายฤดูกาล[54] โดยเอซีมิลานเป็นทีมที่มีผู้ติดตามมากที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศรองจากยูเวนตุส ทั้งสองทีมยังเป็นสโมสรที่มีมูลค่าการซื้อขายและมูลค่าตลาดหุ้นมากที่สุดในประเทศ สโมสรอื่น ๆ ที่เป็นอริกับยูเวนตุสได้แก่ โรมา, ฟีออเรนตีนา และนาโปลี
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]- ณ วันที่ 9 กันยายน 2024[55]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
สตาฟโค้ชของสโมสร
[แก้]ตำแหน่ง | เจ้าหน้าที่ |
---|---|
ผู้จัดการทีม | |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | จิโอวานนี่ มาตูส์เชียลโล่ |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | คลาดิโอ ฟิลลิปปี |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาร์โก้ เอียนนี่ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟิตเนส | เดเนียล ตอญาคซินี่ |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | อันเดรีย เปอตูซิโอ้ |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | ดาวิด โลซี่ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเทรนนิงเชค | โรแบร์โต ซาสซี |
อ้างอิง: Juventus.com
สถิติผู้เล่น
[แก้]สถิติทำประตูสูงสุด
[แก้]- อเลสซานโดร เดล ปีเอโร - 272
- จามปีเอโร โบนีแปร์ตี - 182
- โรแบร์โต เบตเตก้า - 178
- โอมาร์ ซิวอรี - 167
- เฟลีเซ ปลาซีโด โบเรล II -161
สถิติเล่นให้สโมสรสูงสุด
[แก้]- อเลสซานโดร เดล ปีเอโร - 629
- เกตาโน ชีเรีย -552
- จูเซปเป ฟูรีโน -528
- จันลุยจี บุฟฟอน -509
- โรเบอร์โต เบตเตกา - 481
เกียรติประวัติ
[แก้]ยูเวนตุสเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของอิตาลีตามประวัติศาสตร์ โดยคว้าแชมป์มาครองได้ถึง 70 รายการมากกว่าสโมสรอื่นในอิตาลี และยังเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีชื่อเสียง และเกียรติประวัติมากที่สุดในโลก เพราะสามารถคว้าแชมป์ในประเทศได้ 59 รายการ และในระดับนานาชาติได้ถึง 11 รายการ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับนี้เป็นอันดับ 3 ในยุโรป และอันดับ 6 ของโลก
ทีมหญิงชราทีมนี้ยังได้มีดาวสีทองสำหรับความยอดเยี่ยมบนเสื้อของทีม 2 ดวง เพื่อแสดงถึงการคว้าแชมป์ลีกนับครั้งไม่ถ้วน โดยการคว้าแชมป์ 10 ครั้ง จะได้สิทธิ์ในการติดดาว 1 ดวง แชมป์ 10 ครั้งแรกนั้นอยู่ในช่วงฤดูกาล 1957-58 และครบ 20 ครั้งในฤดูกาล 1981-82 นอกจากความยิ่งใหญ่ในประเทศ ยูเวนตุสยังเป็นสโมสรเดียวที่ได้แชมป์รายการระดับนานาชาติครบทุกรายการ เบียงโคเนรีถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 7 และอันดับสูงสุดของทีมจากอิตาลี ในการจัดอันดับสโมสรของฟีฟ่าในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) พวกเขาได้รับการจัดอันดับโดยสหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ ให้เป็นสโมสรฟุตบอลที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในยุโรป ซึ่งถือเป็นอันดับที่สุดของสโมสรอิตาลีในการจัดอันดับทั้งสองประเภท
ระดับประเทศ
[แก้]- เซเรียอา[56]
- ชนะเลิศ (36): 1905, 1925–26,[57] 1930–31, 1931–32, 1932–33, 1933–34, 1934–35, 1949–50, 1951–52, 1957–58, 1959–60, 1960–61, 1966–67, 1971–72, 1972–73, 1974–75, 1976–77, 1977–78, 1980–81, 1981–82, 1983–84, 1985–86, 1994–95, 1996–97, 1997–98, 2001–02, 2002–03, 2011–12, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2018–19, 2019–20
- เซเรียบี
- ชนะเลิศ (1): 2006–07
ระดับทวีปยุโรป
[แก้]- ยูโรเปียนคัพ/ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[58]
- ชนะเลิศ (2): 1984–85, 1995–96
- ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
- ชนะเลิศ (1): 1983–84
- ยูฟ่าคัพ/ยูฟ่ายูโรปาลีก[59]
- ชนะเลิศ (3): 1976–77, 1989–90, 1992–93
- ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ[60]
- ชนะเลิศ (1): 1999
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ[61]
- ชนะเลิศ (2): 1984, 1996
ระดับโลก
[แก้]- อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ[62]
- ชนะเลิศ (2): 1985, 1996
หุ้นของสโมสร
[แก้]ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 |
---|---|
รายได้ | €172,066,450 (2010–11) |
รายได้จากการดำเนินงาน | (€92,154,792) (2010–11) |
รายได้สุทธิ | (€95,414,019) (2010–11) |
สินทรัพย์ | €334,040,001 (2010–11) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | (€4,951,466) (2010–11) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ UEFA.com (2003-06-26). "Old Lady sits pretty | UEFA Champions League". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Azioni Juventus Fc: tutti i dati completi - Borsa Italiana". www.borsaitaliana.it.
- ↑ 3.0 3.1 "uefa.com - European-South American Cup". web.archive.org. 2013-12-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
- ↑ , cf. also Bilancio di sostenibilità (2016, p. 7)
- ↑ "Rai Storia - La diretta in streaming video su RaiPlay". RaiPlay (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "La Storia della Juventus". web.archive.org. 2008-01-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-21. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "Juventus Football Club: The History". Juventus Football Club S.p.A official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 9 August 2008.
- ↑ "11/03/1900 Juventus-Torinese F.C. 0-1, Campionato Federale 1899-1900". www.juworld.net.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Modena, Panini Edizioni (2005). Almanacco Illustrato del Calcio – La Storia 1898–2004.
- ↑ "FIFA.com - Injuries clouding Turin derby". web.archive.org. 2011-12-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-14. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Modena, Panini Edizioni (2005). Almanacco Illustrato del Calcio – La Storia 1898–2004.
- ↑ Hazzard, Patrick; Gould, David (2001). Fear and loathing in world football. Berg Publishers. ISBN 1-85973-463-4.
- ↑ (Papa 1993, p. 271)
- ↑ "Juventus.com - News Eventi". web.archive.org. 2009-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-06. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 15.2 "Albo d'oro Serie A TIM". Lega Nazionale Professionisti Serie A (ภาษาอิตาลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-18. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
- ↑ (Glanville 2005, p. 263)
- ↑ 17.0 17.1 "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 June 2007.
- ↑ "Olsson urges anti-racism action". Union des Associations Européennes de Football. 13 May 2005. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
- ↑ "Giovanni Trapattoni". Union des Associations Européennes de Football. 31 May 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 December 2010.
- ↑ "Un dilema histórico" (ภาษาสเปน). El Mundo Deportivo. 23 September 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 September 2008.
- ↑ (TheTechnician (UEFA) 2010:5)
- ↑ Modena, Panini Edizioni (2005). Almanacco Illustrato del Calcio – La Storia 1898–2004.
- ↑ Goldblatt, David (2007). The Ball is Round: A Global History of Football. London: Penguin. ISBN 978-0-14-101582-8.
- ↑ "1995/96: Juve hold their nerve". Union des Associations Européennes de Football. 22 May 1996.
- ↑ "UEFA Champions League 1996–97: Final". Union des Associations Européennes de Football. 28 May 1997.
- ↑ "UEFA Champions League 1997–98: Final". Union des Associations Européennes de Football. 20 May 1997.
- ↑ "Italian trio relegated to Serie B". BBC. 14 July 2006. สืบค้นเมื่อ 14 July 2006.
- ↑ "Calciopoli: The scandal that rocked Italy". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
- ↑ "Ranieri appointed Juventus coach". BBC News. 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 4 June 2007.
- ↑ "Via Ranieri, ecco Ferrara" (ภาษาอิตาลี). Union des Associations Européennes de Football. สืบค้นเมื่อ 19 May 2009.
- ↑ "Ferrara handed Juventus reins". Union des Associations Européennes de Football. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
- ↑ "Juventus 3-0 Cagliari". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
- ↑ "Juventus-Benfica 0-0: batosta europea Portoghesi in finale, bianconeri eliminati Battaglia anche nel dopopartita". www.ilmessaggero.it (ภาษาอิตาลี). 2014-05-01.
- ↑ Campo, Carlo (2015-05-20). "Juventus win record 10th Coppa Italia title". theScore.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Juventus claim back-to-back doubles after 11th Coppa Italia success". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-21.
- ↑ Lazio, Juventus made history to become the first team to win the Coppa Italia three times in a row after a 2-0 win over. "Juventus wins historic third straight Coppa Italia". beIN SPORTS (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
- ↑ Juventus.com. "Maurizio Sarri relieved of his duties - Juventus". Juventus.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Juventus.com. "Andrea Pirlo is the new coach of the First Team - Juventus". Juventus.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Bosher, Luke. "Juventus: Pirlo's side qualify for Champions League after Napoli draw with Verona". The Athletic (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Sport, Sky (2021-05-23). "Atalanta-Juve LIVE". sport.sky.it (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Andrea Pirlo: Juventus sack head coach with Massimiliano Allegri set to replace him". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Juventus.com. "Welcome back home, Max! - Juventus". Juventus.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "La Juve di Allegri chiude la stagione con "zero tituli": l'ultima volta fu con Delneri". Sport Fanpage (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Juventus da incubo in Champions League: solo tre punti e diversi record negativi | Goal.com Italia". www.goal.com (ภาษาอิตาลี). 2022-11-03.
- ↑ "Juve, Vlahovic non basta: Suso e Lamela la ribaltano. La finale è Siviglia-Roma". La Gazzetta dello Sport (ภาษาอิตาลี). 2023-05-18.
- ↑ Nerozzi, Simona Lorenzetti e Massimiliano (2022-10-24). "Plusvalenze Juve, il pm aveva chiesto l'arresto per Agnelli (respinto dal gip)". Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Terremoto Juve, si dimette tutto il CdA: lascia anche il presidente Agnelli". La Gazzetta dello Sport (ภาษาอิตาลี). 2022-11-28.
- ↑ Juventus.com. "13 seasons of records - Juventus". Juventus.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Gianluca Ferrero, chi è il nuovo presidente della Juventus". Il Sole 24 ORE (ภาษาอิตาลี). 2022-11-29.
- ↑ "Juve, inchiesta plusvalenze. Milan e Inter assolte nel 2008". tuttosport.com (ภาษาอิตาลี). 2021-11-26.
- ↑ "Il "boicottaggio" dei tifosi juventini a Sky e Dazn è solo la punta dell'iceberg: ecco perchè la pioggia di disdette può andare oltre la protesta..." Tutto Juve (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Sport, Sky (2023-06-06). "Manovra stipendi, la Juve chiede il patteggiamento: le news live". sport.sky.it (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Juventus.com. "Official | Massimiliano Allegri no longer Juventus coach - Juventus". Juventus.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Top 10 Serie A Football Clubs with Most Fans in the World in 2023 (Updated)" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-01-02.
- ↑ "First Team Men". Juventus.com. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
- ↑ The 2004-05 and 2005-06 Italian League championship titles were stripped as consequence of the 2006 Serie A scandal.
- ↑ Up until 1929, the top division of Italian football was the Federal Football Championship, since then, it has been the Lega Calcio Serie A.
- ↑ Up until 1992, the European football's premier club competition was the European Champion Clubs' Cup; since then, it has been the ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.
- ↑ The European Inter-Cities Fairs Cup (1958–1971) was a football tournament organized by foreign trade fairs in European seven cities (London, Barcelona, Copenhagen, and others) played by professional and –in its first editions- amateur clubs. Along these lines, that's not recognized by the Union of European Football Associations. See: "History of the UEFA Cup". uefa.com. สืบค้นเมื่อ 31 August 2006..
- ↑ "European team profiles: Juventus F.C." uefa.com. สืบค้นเมื่อ 26 December 2006..
- ↑ The UEFA Super Cup 1985 final between the Old Lady and Everton, 1984-85 Cup Winners' Cup winners not played due to the Heysel Stadium disaster. See: "History of the UEFA Super Cup". uefa.com. สืบค้นเมื่อ 31 August 2006..
- ↑ Up until 2004, the main FIFA football club competition was the Intercontinental Champions Club' Cup (so called European / South American Cup); since then, it has been the FIFA World Club Championship.